วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note5 15 September 2015

                             
                               บันทึกอนุทินครั้งที่ 5  วันที่ 15 กันยายน  2558
  
      -  อาจารย์เช็คชื่อ  และแจกกระดาษ
       
         -  ให้เขียนการทำงานของสมอง


หลักการ/และแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก

     กีเซล ( Gesell ) 

   -  การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผน  เช่น  คว่ำ  คืบ  คลาน  นั่ง ยืน  เดิน 

   - การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการเคลื่อนไหว  การใช้ภาษา  การปรับตัวเข้ากับบุคคลรอบข้าง

   การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก

        -  จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  

       - จัดกิจกรรมให้เด็ฏเล่นการแจ้ง

         ฟลอยด์  ( Freud )

    -  ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อพฤติกรรมและบุคคลิกภาพของคนเราเกมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่  หาก

เด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอเด็กจะเกิดอาการ ชะงัก  พฤติกรรมถดถอย  ข้องใจ ส่งผลต่อ

พัฒนาการของเด็ก

     การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก

  -  ครูเป็นแบบอย่าง

  -   จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน  จากง่ายไปยาก

  -   จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านกับที่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


      อีริกสัน  (Erikson)

   -  ถ้าเด็กอยู่ในสังคมที่เด็กพอใจ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่น
   -  ถ้าเด็กอยู่ในสงคมที่ไม่ดี เด็กจะมองโลกในแง่แย่ ขาดความไว้วางใจ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ พึงพอใจในสภาพแวดล้อมที่ดี
    -   จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กได้มีโอกาศ สร้างปฏิสัมพันธ์

เพียเจต์ ( Piaget) 

  -  พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิมความคิดและความหมายมากขึ้น

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี 

      1) ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุด้าน 
      2) ความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 เดือน 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร
แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก 
-  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหารทัศนศึกษา--   จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ เช่น การเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการสำรวจทดลอง
-   จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวเรียนรู้จักหน่วยตามความสนใจและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อน

ดิวอี้ ( Dewey)

-  เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doing

แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก     
-  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู

สกินเนอร์ (Skinner) 
-  ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กจะสนใจที่จะทำต่อไป
-  เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร

แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก     
-  ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
-  ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน

เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi)
-  ความรักเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่ควรบังคับเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
- จัดเตรียมความพร้อมให้ความรักให้เวลา

เฟรอเบล ( Froeble)
-  ส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
-  จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

เอลคายน์ ( Elkind )

-  การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตราย เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง จัดบรรยากาสให้เด็กได้มีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมด้วยตัวเอง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

-  จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง

เทคนิคการสอน (Techninal Education)

- ใช้พาวเวอร์พอย์ในการสอน

ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills) 

-  ทราบถึงหลักการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักทฤษฎีหลายๆท่าน

การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption) 

-  นำหลักการพวกนี้นำไปใช้ในการัดประสบการเด็กในภายภาคหน้าได้
-  การเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับสิ่งต่างๆ

บรรยากาศในห้องเรียน (The atmosphere in the classroom)

-  สนุกสนานสนานดี
-  มีวามพร้อมในการเรียน
ประเมินตนเอง (Self-evaluation)

-  สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

ประเมินเพื่อน (Rating friends)

-  เพื่อนบางคนตั้งใจเรียนบางคนก็ไม่ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)

-  อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมาก
-  อาจารย์ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่


     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น