วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 7 29 September 2015



บันทึกอนุทินครั้งที่  7  วันที่  29  กันยายน 2558


  -  เพื่อนมานำเสนอเรื่องพลังงานลม  

       พลังงานลม

           
       เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 

ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกได้รับความ


สนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน


กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้


เป็นประโยชน์ได้โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ


ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงาน


จากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น


อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่


การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลมและมีอิทธิพลต่อ


สภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง


แนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย)มีพลังงานลมที่อาจ


นำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิต


ไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้


สำหรับประเทศไทยมีความเร็วอยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และ


ความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตา


รางเมตร

  -  เพื่อนนำเสนอเรื่อง  พืช

      พืช



            

       พืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ

 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650

 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด ) อยู่ในพืช(Kingdom

Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก 

 และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อ


ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม

 เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็น

สารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ยังมีลักษณะ

พิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่มี

พืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชีส์ที่ไม่สังเคราะห์ด้วยแสงเอง แต่

เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น

-  เพื่อนนำเสนอเรือง หิน  ดิน  ทราย  

      ดิน หิน ทราย
ดิน

           ดิน(soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกเกิด

จากการแปลงสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุผสม

คลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆเมื่อมีน้ำและอากาศ

ที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้

หิน

           หิน (Rocks) คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิด

เดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติเปลือกโลกส่วน

ใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกตนอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต

เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์น้ำ

ฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดิน

และมหาสมุทรสิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย

แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือกเมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน

ทราย 

           เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular

 matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ด

ละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีก

ความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว

 หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาค

หรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของ

ทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียก

ว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 

0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่

ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมี

ขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาด

ของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก grain size) เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ

 ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้น

จะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย

เทคนิคการสอน (Techninal Education)
-  อาจารย์ใช้เทโนโลยีในการสอน เช่น พาวเวอร์พอยต์  และคลิปวิดีโอ


ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills) 
-  ใช้ทักษะในการอ่าน  คิด วิเคราะห์


การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption) 
-  สามารถนำไปใช้ัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้ในอนาคต


บรรยากาศในห้องเรียน (The atmosphere in the classroom)
-  เป็นไปอย่างสนุกสนานเพราะ เพื่อนๆได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยนเอง


ประเมินตนเอง (Self-evaluation)
-  ตั้งใจเรียนมากขึ้นและมีส่วนร่วมกับเื่อนมากขึ้น


ประเมินเพื่อน (Rating friends)
-   เพื่อนบางคนยังไม่มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
-  เพื่อนบางคนไม่มีความร้อมที่จะมาเรียน

ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-  อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมาก

-  อาจารย์ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น